back to top

ประวัติโรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี

โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ ประเภทสามัญศึกษาของฝ่ายการศึกษา ในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 148 แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 โดยการจัดตั้งมีความเป็นมาดังนี้

โรงเรียนวัด

วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร บางเชือกหนัง วัดเก่าหลังแรก ค.ศ.1890-1954
พุทธศักราช 2461-2471

บาทหลวงฮุย ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร (วัดพระตรีเอกานุภาพ) ได้จัดสร้างโรงเรียนของวัดขึ้นตั้งชื่อว่า “โรงเรียนพระตรีเอกานุภาพ”

พุทธศักราช 2478-2494

บาทหลวงเฟดริก อุ่น จิตติ์ชอบค้า ได้มาเป็นเจ้าอาวาส และได้เปลี่ยนชื่อ โรงเรียนเป็น “โรงเรียนตรีจิตวิทยา” เปิดสอนทั้งภาษาไทย และภาษาจีน โดยมีนายจอก จิตติ์ชอบค้า เป็นผู้จัดการ และ นายสง่า เอกบุสย์ เป็นครูใหญ่

พุทธศักราช 2491

บาทหลวงดาเนียล ธานี วงศ์พานิช ได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของจัดตั้งโรงเรียนตรีมิตวิทยา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2491

พุทธศักราช 2495-2496

บาทหลวงวิลเลี่ยม ตัน ได้สร้างอาคารเพิ่มอีก 1 หลัง และในปี พ.ศ.2495 เจ้าของโรงเรียนได้มอบโรงเรียนให้บาทหลวงดาเนียล วงศ์พินิจ เป็นผู้ลงนามแทนเจ้าของโรงเรียน นายเจริญ กอหะสุวรรณ เป็นผู้จัดการ และ นางสาวละมุด นามวงศ์ เป็นครูใหญ่

พุทธศักราช 2496-2502

คุณพ่อเปรดาญ เป็นเจ้าอาวาส และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก “ตรีจิตวิทยา” เป็น “ตรีมิตวิทยา”

พุทธศักราช 2502-2509

บาทหลวงลออ สังขรัตน์ เป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างอาคารไม้ยาว 40 เมตร ใช้เป็นห้องเรียน ห้องอาหาร เวทีแสดงในงานวัดและโรงเรียน โดยตั้งชื่ออาคารหลังนี้ว่า “หอประชุม บาทหลวงลออ สังขรัตน์” ซิสเตอร์สาลี่ ดำริ เป็นครูใหญ่

พุทธศักราช 2509

บาทหลวงถาวร กิจสกุล ได้รับตำแหน่งให้เป็นเจ้าของ และผู้จัดการ

พุทธศักราช 2510

ซิสเตอร์พวงน้อย ตรีมรรคา รับหน้าที่ครูใหญ่

พุทธศักราช 2512

ขยายชั้นเรียนถึง ม.ศ. 3 ต่ออาคารเรียนหลังที่ 1 อีก 2 ห้องเรียน และต่อมาเป็นห้องพิเศษอีก 3 ห้อง พ.ศ. 2517 ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน จากเดิม “ตรีมิตวิทยา” เป็น “ตรีมิตรวิทยา” ตามใบอนุญาตเลขที่ 828 / 2517

ก่อร่างสร้างรากฐาน

พุทธศักราช 2518

บาทหลวงสานิจ สถะวีระวงส์ เป็นผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์สุภาภรณ์ แตงอ่อน เป็นผู้จัดการและครูใหญ่

พุทธศักราช 2520

โรงเรียนได้ขออนุญาตยุบชั้น ม.ศ.1 – ม.ศ.3 จึงมีนักเรียนระดับชั้น ป.1 – ป.6 ตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา

พุทธศักราช 2522

บาทหลวงสุเทพ พงษ์วิรัชไชย เป็นผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์ทองหล่อ ตระกูลเง็ก เป็นผู้จัดการและครูใหญ่

พุทธศักราช 2523

ซิสเตอร์มารีอัน ฉายาเจริญ รับหน้าที่เป็นผู้จัดการ และครูใหญ่

พุทธศักราช 2525

สร้างหอประชุม และห้องเรียนถาวรอีก 2 ห้อง

พุทธศักราช 2526

บาทหลวงบัณฑิต ปรีชาวุฒิ เป็นผู้รับใบอนุญาต ได้จัดห้องเรียนถาวร 2 ห้อง เป็นห้องอำนวยการ และห้องพักครู บาทหลวงบัณฑิต ปรีชาวุฒิ เป็นผู้รับใบอนุญาต ได้จัดห้องเรียนถาวร 2 ห้อง เป็นห้องอำนวยการ และห้องพักครู

พุทธศักราช 2528-2531

บาทหลวงสุทศ ประมวลพร้อม เป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ ซิสเตอร์อารี มั่นศิลป์ เป็นครูใหญ่

พุทธศักราช 2531

ซิสเตอร์วีณา สุทธินาวิน เป็นครูใหญ่

พุทธศักราช 2532-2533

บาทหลวงชัชวาล ศุภลักษณ์ เป็นผู้รับใบอนุญาต และขอเปลี่ยนแปลงการเปิดทำการสอน ระดับก่อนประถมศึกษาจากเดิม อนุบาล 1 – 2 เป็น อนุบาล 1 – 3

พุทธศักราช 2533-2536

บาทหลวงสุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ เป็นผู้รับใบอนุญาต ได้มีการปรับปรุงสนามเด็กเล่น ด้านหลังบ้านพักภคินี ด้านอาคารสถานที่ได้เทปูนสนามเด็กเล่นหน้าโรงอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นที่เล่นกีฬา

แหล่งที่มา : ครูเพลินพิศ
พุทธศักราช 2528-2531

บาทหลวงสุทศ ประมวลพร้อม เป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ ซิสเตอร์อารี มั่นศิลป์ เป็นครูใหญ่

พุทธศักราช 2536

บาทหลวงอดิศักดิ์ สมแสงสรวง เป็นผู้รับใบอนุญาต

พุทธศักราช 2537

ซิสเตอร์สุนีย์พร กตัญญู เป็นครูใหญ่

บนศิลาที่มั่นคง

พุทธศักราช 2539

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ในพื้นที่ ที่เตรียมไว้ห่างจากสถานที่เดิมประมาณ 200 เมตร และในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 พระคาร์ดินัลไมเกิ้ลมีชัย กิจบุญชู พระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ วัด และ โรงเรียนหลังใหม่ ทำการก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น 1 หลัง 17 เมษายน พ.ศ. 2541 ย้ายโรงเรียนจากสถานที่ตั้งเดิมไปยังสถานที่ตั้งใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 83 หมู่ที่ 3 แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เปิดทำการสอนในระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา

พุทธศักราช 2542

บาทหลวงธีรวัฒน์ เสนางค์นารถ เป็นผู้รับใบอนุญาต และ ผู้จัดการ

พุทธศักราช 2543

ซิสเตอร์จารุณี กิจบำรุง เป็นครูใหญ่ ได้จัดวางแผนงานเพื่อรองรับนโยบายการปฏิรูป การศึกษา และรับรองมาตรฐานการศึกษา พัฒนาบุคลากร และอาคารสถานที่ เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน

พุทธศักราช 2544

โรงเรียนตรีมิตรวิทยาเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา (ม. 1 – ม. 2) วันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2544 โรงเรียนได้รับการตรวจประกันคุณภาพการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ

พุทธศักราช 2546

บาทหลวงสำรวย กิจสำเร็จ เป็นผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์วีรวรรณ กิจเจริญ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่

พุทธศักราช 2548

โรงเรียนเข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ระหว่างวันที่ 22 – 24 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาจีน และภาษาอังกฤษแบบ Intensive Course ขึ้น

พุทธศักราช 2549

ขยายชั้นเรียน ม. 1 จาก 2 ห้อง เป็น 3 ห้อง พร้อมส่งเสริมสนับสนุนผู้ปกครอง เตรียมความพร้อมก่อนเด็กวัยเรียนร่วมกับทางโรงเรียน และจัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์บริการคุณครูในการทำงานเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีในด้านการจัดทำผลการเรียนรู้และเอกสารรายงานผลการเรียน

พุทธศักราช 2550

ขยายห้องเรียนชั้น ม.2 จาก 2 ห้อง เป็น 3 ห้อง จัดให้มีห้องศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Education Center) ขึ้นที่อาคารศิลา 1 ห้องเรียน และอาคารนาวา 1 ห้องเรียน และได้รับอนุญาตให้ขยายชั้นเตรียมอนุบาล ตามใบอนุญาตเลขที่ กส 1243 / 2550 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

พุทธศักราช 2551

ซิสเตอร์มยุรา วาปีโส เป็นผู้อำนวยการ โรงเรียนเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบที่สอง ระหว่างวันที่ 8 – 9 , 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และได้รับการรับรองคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ปี 2551 – 2554 และทำการฉลองครอบรอบ 60 ปี ของการก่อตั้งโรงเรียนอย่างเป็นทางการ / ปรับปรุงภูมิทัศน์ต่าง ๆ ในโรงเรียน

พุทธศักราช 2552

บาทหลวงวิชชุกรณ์ เกตุภาพ เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ ซิสเตอร์มยุรา วาปีโส เป็นผู้อำนวยการ จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม ปรับปรุงห้อมคอมพิวเตอร์ชั้น 5 อาคารศิลา ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบโรงเรียน ทาสี / ปรับปรุงสนามกีฬาทั้งสองสนาม ติดกล้องระบบวงจรปิดภายในโรงเรียน และบริเวณโดยรอบโบสถ์ บ้านพักผู้บริหาร จำนวน 32 จุด ทำการปรับเปลี่ยนเครื่องแบบชุดพละของนักเรียนใหม่ / ซ่อมศาลาไทย / ระบบจราจรภายในโรงเรียน / ติดตั้งเครื่องปรับอากาศห้องเตรียมอนุบาล

จากตรีมิตร สู่ เซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี

พุทธศักราช 2553

ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน จากเดิม “โรงเรียนตรีมิตรวิทยา” เป็น “โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี” ตามใบอนุญาตเลขที่ กส 378 / 2553 ลงวันที่ 23 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2553

พุทธศักราช 2555
พุทธศักราช 2554

ได้รับอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – ม.6) ตามใบอนุญาตเลขที่ กส 51 / 2554 ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.4) ในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน และแผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้องเรียน ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป พร้อมทั้งปรับปรุงอาคารสถานที่โดยสร้างหลังคาบังแดด เชื่อมระหว่างอาคารศิลาและอาคารมานนา ดำเนินการปรับปรุงห้องห้องฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายบริเวณอาคารเรียน จัดตั้งธนาคารโรงเรียน โดยความร่วมมือกับธนาคารออมสิน

พุทธศักราช 2555

เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.5) ในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน และแผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้องเรียน

พุทธศักราช 2556

เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน และแผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้องเรียน พร้อมทั้งเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบที่สาม ระหว่างวันที่ 23 – 24 , 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบที่สามในระดับ ดีมาก ทั้งระดับปฐมวัย และ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2557

บาทหลวงธนันชัย กิจสมัคร เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์วราภรณ์ ชีวเรืองโรจน์ เป็นผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนเปิดทำการสอนระดับเตรียมอนุบาลเพิ่มขึ้นอีก 1 ห้องเรียน รวมเป็นจำนวน 3 ห้องเรียน และได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบที่สามในระดับ ดีมาก ทั้งระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโรงเรียน ปรับพื้นที่สำหรับจอดรถบริเวณสนามใหญ่

พุทธศักราช 2558

โรงเรียนดำเนินการปรับปรุงห้องสุขาในห้องเรียนอาคารนาวา จัดทำสนามเด็กเล่นใหม่ระดับปฐมวัย ติดตั้งเครื่องกรองน้ำ ติดตั้งพัดลมในอาคารนาวา ปรับปรุงจัดทำทางเดินเท้า หลังคากันสาดบริเวณด้านหลังอาคารศิลา อาคารมานนา และอาคารนาวา เพิ่มเติมม้าหินอ่อนหลังอาคารศิลา ปรับปรุงระบบไฟฟ้า เปลี่ยนกระจก ประตูห้องเรียน Intensive หินคุกทางเดินรถบริเวณสนามฟุตบอลใหญ่ เพื่อเป็นที่สำหรับจอดรถ จัดสร้างอนุสาวรีย์นักบุญเปโตรด้านข้างอาคารตรีเอกภาพ จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 55 เครื่อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนที่ห้องคอมพิวเตอร์อาคารศิลา ปรับเปลี่ยนโต๊ะเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 3

พุทธศักราช 2559

โรงเรียนดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์เพิ่มเติม โดยจัดทำม่านน้ำ ซ่อมแซมศาลาทรงไทยและเรือนไทย ธนาคารโรงเรียน ปรับปรุงห้องเรียนประถมศึกษาปีที่ 1-2 และห้องพยาบาล เป็นห้องปรับอากาศ ติดตั้งพัดลมขนาดใหญ่ที่ลานอเนกประสงค์ อาคารศิลา รวมทั้งปรับปรุงสนามฟุตบอล ทำถนนและที่จอดรถเพิ่มเติม พร้อมปรับเปลี่ยนระบบบริหารสถานศึกษา (โปรแกรม EMS) ให้มีความชัดเจนมากขึ้น

พุทธศักราช 2560

บาทหลวงพจนารถ นิรมลทินวงศ์ เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนได้ดำเนินการปรับปรุงสระว่ายน้ำในระดับปฐมวัยเป็นระบบเกลือ ติดตั้งพัดลมขนาดใหญ่เพิ่มในบริเวณลานอเนกประสงค์ อาคารนาวา ในส่วนของอาคารตรีเอกภาพ โรงเรียนได้ทำการปรับปรุงห้องสุขาชั้น 2 และชั้น 3 ดำเนินการเปลี่ยนหลังคาของอาคารศิลาเป็นเมทัลชัท ปรับรูปแบบการจราจรภายในโรงเรียน โดยสร้างจุดรับ-ส่งนักเรียน บริเวณข้างสนามบาสเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โรงเรียนได้ทำการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการทุกห้อง

พุทธศักราช 2561

ซิสเตอร์ประสานศรี วงค์สวัสดิ์ เป็นผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียน

พุทธศักราช 2562

โรงเรียนดำเนินการสร้างห้องบ้านจำลองและห้องศูนย์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย ติดตาข่ายกันนกพิราบบริเวณหอระฆังและโรงอาหารอาคารมานนา สร้างหลังคากันฝนด้านข้างอาคารตรีเอกภาพ และสร้างที่นั่งล้อมรอบต้นไม้ บริเวณสนามบาสเกตบอล จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับห้องคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นปฐมวัย จำนวน 30 เครื่อง ติดตั้งโทรทัศน์ในห้องเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 17 เครื่อง ห้องเรียนโปรแกรม Intensive English Program จำนวน 6 เครื่อง และอาคารมานนา (โรงอาหาร) จำนวน 2 เครื่อง

พัฒนาไร้ขีดจำกัด

พุทธศักราช 2563

ซิสเตอร์ ดร.น้ำทิพย์ งามสุทธา เป็นผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนได้ดำเนินการปรับปรุงระบบอินเตอร์เน็ตและเพิ่มจุดให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนให้แก่ครูและนักเรียน ปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน รวมถึงปรับรูปแบบการจัดทำและจัดเก็บเอกสารงานวิชาการ โดยใช้ระบบปฏิบัติการงานวัดและประเมินผลอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ดำเนินการติดตั้งหลังคาคลุมดาดฟ้าชั้น 4 และหลังคากันสาดหน้าต่างช่องบันได อาคารนาวา มีการเทปูนเพื่อปิดช่องใต้อาคารต่างๆ และทำการปรับปรุงห้องวิชาการ โดยย้ายมาอยู่ที่ชั้น 1 อาคารศิลา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวในการบริหารงานวิชาการและการให้บริการแก่ผู้ปกครอง นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน

พุทธศักราช 2564

ซิสเตอร์ ดร.สมจิตร์ ทรัพย์อัประไมย เป็นผู้จัดการ ชิสเตอร์จิตราพร ณ ขอนแก่น เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Hybrid Learning พร้อมทั้งดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ติดตั้งสายสัญญาณอินเตอร์เน็ต (LAN) และเปลี่ยนสายสัญญาณ HDMI ทุกห้องเรียนในอาคารนาวาและอาคารศิลา / ดำเนินการติดตั้งเครื่องวางบัตรสวัสดิการอาหารกลางวันครู อาคารมานนา จำนวน 4 จุด / ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ภายในเครื่องเซิฟเวอร์ เปลี่ยนอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล (Harddisk) , ปรับปรุงกล้องวงจรปิดที่ชำรุด บริเวณจุดรับ-ส่งนักเรียนจำนวน 3 ตัว บริเวณด้านหลังอาคารนาวา อาคารศิลาและอาคารมานนา จำนวน 3 ตัว บริเวณหน้าห้องวิชาการอนุบาล อาคารนาวา จำนวน 1 ตัว พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องเสียงบริเวณอาคารนาวา จำนวน 1 ชุด และปรับปรุงเครื่องเสียงภายในอาคาร

พุทธศักราช 2565

ซิสเตอร์กฤษดา สาตร์พันธ์ เป็นผู้จัดการโรงเรียน โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ในระดับ “ดีมาก” ทั้งระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการจัดซื้อเครื่องตรวจข้อสอบระบบคอมพิวเตอร์ ปรับปรุงระบบสายสัญญาณโทรศัพท์ภายใน / ปรับปรุงระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายในและระบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ภายในโรงเรียนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ / ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างของหอระฆังให้มีความมั่นคง / ดำเนินการซ่อมแซมทางเดินในพื้นที่ในสวนระหว่างอาคารศิลาและให้เป็นสัดส่วน / ปรับปรุงพื้นที่สวนด้านข้างอาคารนาวา / ปรับปรุงเวทีกิจกรรมบริเวณลานอเนกประสงค์ / ปรับปรุงห้องน้ำชาย-หญิง ห้องน้ำอาคารธุรการ ทั้ง 3 ชั้น ห้องน้ำนักเรียนชายชั้น 1 อาคาศิลา / ปรับปรุงระบบไฟส่องสว่าง บริเวณทางเดินของอาคารและทางเดินระหว่างอาคาร / นำระบบบริหารศูนย์อาหาร (Food Court System Management) มาใช้ โดยสามารถซื้ออาหารผ่านบัตรประจำตัวของนักเรียนและบุคลากร

พุทธศักราช 2566

บาทหลวงอภิเดช สุภาจักร์ เป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาต ขยายห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จาก 2 ห้องเรียน เป็น 3 ห้องเรียน ดำเนินการติดตั้งจอภาพ LED ขนาด 8x4 เมตร บริเวณเวทีกิจกรรม ลานอเนกประสงค์

ปัจจุบัน

โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นเตรียมอนุบาล ระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โดยมี บาทหลวงอภิเดช สุภาจักร์ เป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์กฤษดา สาตร์พันธ์ เป็นผู้จัดการโรงเรียน และซิสเตอร์จิตราพร ณ ขอนแก่น เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน